อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด


หลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาลทันที ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงต้องช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยคำแนะนำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด ได้แก่

1. ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขา ระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจ (เหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต) เพื่อป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดำ ควรคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที จนกว่าจะถึงสถานพยาบาล

2. เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า หรือมือส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำ) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้ผู้ป่วยเดิน ให้นั่งรถหรือแคร่หาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู

 3. ควรดูให้รู้แน่ว่าเป็นงูอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรบอกให้คนอื่นที่อยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนำไปยังสถานพยาบาลด้วย (อย่าตีให้เละจนจำลักษณะไม่ได้)

4. อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือกินยากระตุ้นประสาท รวมทั้งชา กาแฟ

5. อย่าใช้ไฟ หรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก

6. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ (จากงูที่มีพิษต่อประสาท) ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทาง จนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด

7. สำหรับบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผล ให้กินพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด



วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)


   หากพบเห็นคนได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ 

       ตบที่ไหล่ของผู้ประสบภัยพร้อมพูดกับเขา
       หากไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ให้ขอให้คนที่อยู่ใกล้ๆแจ้งไปที่หมายเลข 119 และขอให้นำส่ง AED และตรวจสอบลมหายใจโดยไม่ต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง (ดูการเคลื่อนไหวของหน้าอกและบริเวณท้องประมาณ 10 วินาที)
การช่วยฟื้นคืนชีพ


   การช่วยฟื้นคืนชีพ

         หากไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ให้กดหน้าอก 30 ครั้ง



   เมื่อกดหน้าอกเสร็จแล้ว ให้ดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งแล้วจึงทำการผายปอด 2 ครั้ง
   หลังจากนั้นให้กดหน้าอก 30 ครั้งและทำการผายปอด 2 ครั้งโดยทำซ้ำไปมา

*กรณีที่เกรงว่าจะติดโรคจากเลือดหรืออาเจียน ให้กดหน้าอกต่อไปโดยไม่ต้องผายปอด


การทำ CPR ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างถูกวิธี


วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

สัญลักษณ์ของพยาบาล 6 อย่าง

      1.ชุดสีขาว คือสะอาดและบริสุทธิ์ คือช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนด้วยจิตใจที่สะอาดและบริสุทธิ์ มีจรรยาวิชาชีพ ไม่ว่าเขาจะเป็นมิตรหรือศัตรู แต่การพยาบาลจะช่วยเหลือโดยไม่แบ่งแยก
      2.หมวกพยาบาล แสดงถึงหน้าที่และภาระกิจและความรับผิดชอบ
      3.ขีดหมวก หมายถึง ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามขีดหมวก
      4.ตะเกียงไนติงเกล เป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่าง ให้เราได้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติ มีความเมตตา อารีย์ ต่อเพื่อนมนุษย์
      5.ดอกปีบ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาว ผู้ที่พร้อมจะประกอบคุณงามความดี ดั่งกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของดอกปีบ ดอกปีบเป็นต้นไม้ที่ไม่มีโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เหมือนกับพยาบาลที่มีความอดทนรับได้ทุกสถานการณ์
      6.สัญลักษณ์เข็มวิทยาลัยพยาบาล คือ สว. มีตัวอักษร ส สีแดง มีตัวอักษร ว สีขาว มาจากคำว่า สังวาลย์ ได้รับพระราชทานมาจาก พระนามของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
                                                                         

การพยาบาล




        ตามความหมายที่ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที่สุด

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มารู้จัก "ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล"


        ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลได้รับการขนานนามและเป็นที่รู้จักว่า "สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป" (Lady of the Lamp) เนื่องจากภาพลักษณ์ติดตาของผู้คนที่เห็นกิจวัตรการตรวจดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บแม้ยามค่ำคืน และถือว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยุคใหม่ยกระดับวิชาชีพพยาบาล นอกจากนี้ยังมีบทบาท  ผลักดัน การพัฒนาด้านสถิติศาสตร์
 เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 2363 
 เสียชีวิตวันที่ 13 สิงหาคม 2453

         แรงดลใจเริ่มจากการอธิษฐาน  ตามธรรมเนียมปฏิบัติของคริสเตียน (ซึ่งเธอมีประสบการณ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2380  (1837) ที่สวนเอมบรีย์ และปฏิบัติเรื่อยมาตลอดชีวิตของเธอ) ไนติงเกล ปฏิญาณตนเองที่จะทำงานพยาบาล ความรู้สึกนี้แรงกล้า และเหนี่ยวรั้งเธอให้ปฏิเสธบทบาทการเป็นภรรยาและแม่ในเวลาต่อมาด้วย ในยุคนั้นงานพยาบาล ถูกรังเกียจว่าเป็นอาชีพชั้นต่ำของสังคม มีภาพลักษณ์ทางลบ เต็มไปด้วยผู้หญิงยากไร้ที่แขวนชีวิตไว้กับการติดตามไปรักษาให้กับกองทัพ ถูกมองว่าต้องอยู่กับความสกปรกและสิ่งน่ารังเกียจ และยิ่งตอกย้ำจากภาพที่ผู้ประกอบอาชีพในยุคนั้นมักจะติดเหล้าติดบุหรี่ (ในความจริง งานพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีคุณค่าและต้องรักษาความสะอาด เทียบเท่ากับงานครัว ที่ตัวเองเประเปื้อน แต่ทำให้อาหารสะอาดน่ากิน) ดังนั้น เมื่อ พ.ศ.2388  (1845) ไนติงเกล ประกาศการตัดสินใจที่จะเป็นพยาบาล จึงทำให้ครอบครัวของเธอคัดค้านอย่างหนัก ทั้งโกรธ และทุกข์ใจ โดยเฉพาะแม่ของเธอ แต่ในที่สุดเธอก็เป็นพยาบาลตามความมุ่งมั่น

ช่วงสงครามไครเมีย

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นที่รู้จักจากผลงานการอุทิศตนระหว่าง สงครามไคเมีย ซึ่งเธอสนใจเมื่อได้ข่าว ซึ่งรายงานปฏิบัติการที่น่าหดหู่และขยะแขยงในการรักษาพยาบาลบาดแผล เริ่มรั่วไหลกลับสหราชอาณาจักร ไนติงเกลพร้อมกับคณะนางพยาบาลอาสาสมัครหญิง 38 คนได้เข้าไปช่วยทหารในสงครามไคเมีย

ตัวนับ